Chelsea

สโมสรฟุตบอลเชลซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชลซี
Chelsea FC svg.png
ชื่อเต็ม สโมสรฟุตบอลเชลซี
ฉายา ทหารเกษียน (จนกระทั่งปี 1952)
สิงโตน้ำเงินคราม (ปัจจุบัน)
ก่อตั้ง 10 มีนาคม 1905; 107 ปีก่อน[1]
สนาม สแตมฟอร์ด บริดจ์
(ความจุ: 42,449)
เจ้าของ โรมัน อบราโมวิช
ประธานสโมสร บรู๊ซ บัค
ผู้จัดการทีม โรแบร์โต ดิ มัตเตโอ
ลีก พรีเมียร์ลีก
2011-12 อันดับที่ 6
เว็บไซต์ เว็บไซต์สโมสร

สีชุดเหย้า
ฤดูกาลปัจจุบัน
สโมสรฟุตบอลเชลซี (อังกฤษ: Chelsea Football Club) เป็นทีมฟุตบอลในอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) เคยได้แชมป์ลีกสูงสุดมาแล้ว 4 ครั้ง รวมฤดูกาลล่าสุด (2009-10) เป็นแชมป์ เอฟเอคัพ 9 ครั้ง แชมป์ ลีกคัพ 8 ครั้ง, แชมป์ ยูฟ่าคัพ 10 ครั้ง และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 1 ครั้ง สนามของเชลซีคือ สแตมฟอร์ดบริดจ์ จุผู้ชมได้ 42,055 คน ตั้งอยู่ในเขตชุมชนฟูแลมบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองลอนดอน ทีมฟุตบอลเชลซีไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตชุมชนเชลซี แต่ตั้งอยู่บนถนนฟูแลม ซึ่งเป็นถนนที่เชื่อมระหว่างเขตฟูแลมและเขตเชลซี

เนื้อหา

ประวัติ

สโมสรฟุตบอลเชลซีก่อตั้งเมื่อ 10 มีนาคม พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) ที่ ผับชื่อเดอะไรซิงซัน ตรงข้ามกับสนามแข่งปัจจุบันบนถนนฟูแลม และได้เข้าร่วมกับลีกฟุตบอลในเวลาต่อมา เชลซีเริ่มมีชื่อเสียงภายหลังจากที่ได้รับชัยชนะใน ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 1954–55
ปี 1996 แต่งตั้ง รุด กุลลิท(Ruud Gullit) เป็นทั้งผู้เล่นและผู้จัดการทีม เชลซีสามารถคว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ มาครองได้ในยุคของกุลลิทนี้
ปี 1997 เปลี่ยนผู้จัดการทีมเป็น จิอันลูก้า วิอัลลี่( Gianluca Vialli) โดยเป็นทั้งผู้เล่นและผู้จัดการทีมในช่วงแรก ในยุคของวิอัลลี่นี้สามารถทำทีมได้แชมป์ลีกคัพ และ ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพและสามารถเข้าถึงรอบรอง"ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพ"ได้เป็นปีทีสองติดต่อกันก่อนที่จะแพ้รีล มายอร์ก้าในปีนั้นทีมที่ได้แชมป์คือ ลาซิโอทีมจากอิตาลีไป ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่มีการจัดการแข่งขัน "ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพ"
ปี 2000 จิอันลูก้า วิอัลลี่ถูกปลดออกจากผู้จัดการทีมและแทนที่ด้วย เคลาดิโอ รานิเอรี(Claudio Ranieri) เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ ในยุคของรานิเอรีนั้น เชลซีมีผลงานติดห้าอันดับแรกของของพรีเมียร์ลีกอย่างสม่ำเสมอ
มิถุนายน ปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ.2003) โรมัน อบราโมวิช เข้าซื้อกิจการต่อจากเคน เบตส์(Ken Bates) ในราคา 140 ล้านปอนด์ หลังการเข้าซื้อกิจการของมหาเศรษฐีชาวรัสเซีย เคลาดิโอ รานิเอรีซึ่ง เป็นผู้จัดการทีมในขณะนั้นยังคงได้คุมทีมต่อไป ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทีมอย่างมากมาย มีการซื้อนักเตะชื่อดังหลายรายเข้ามาเสริมทีมโดยใช้เงินไปอีกมากมายกว่าร้อย ล้านปอนด์ เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลแข่งขันเชลซีไม่คว้าแชมป์ใดมาได้เลย สามารถทำอันดับ 2 ของพรีเมียร์ลีก และ เข้าสู่รอบ 4 ทีมสุดท้ายยูฟ่าแชมเปี้ยนลีก เมื่อจบฤดูกาลแรกหลังจากเข้าซื้อกิจการของมหาเศรษฐีชาวรัสเซีย ทางทีมจึงได้ปลด เคลาดิโอ รานิเอรี่ ออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีม และได้เซ็นสัญญาให้ โชเซ่ มูรินโญ่ ( José Mourinho)เป็นผู้จัดการทีมต่อมา
ปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ.2004) เปลี่ยนผู้จัดการทีมเป็น โชเซ่ มูรินโญ่ ซึ่งสร้างสีสันให้กับวงการฟุตบอลอังกฤษในสมัยนั้นเป็นอย่างมากกับบทสัมภาษณ์และทัศนะของ มูริญโญ่เอง
ปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ.2005) ได้เป็นแชมป์พรีเมียร์ลีกครั้งแรกหลังจาก โรมัน อบราโมวิช เข้าซื้อกิจการของสโมสร และครบร้อยปีจากการตั้งสโมสร
ปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) ได้เป็นแชมป์พรีเมียร์ลีกอีกครั้งสองสมัยติดต่อกัน
20 กันยายน พ.ศ. 2550 มูรินโญ่ถูกไล่ออกจากตำแหน่ง หลังจากทำผลงานไม่ดี 3 นัดติดต่อกัน แพ้ แอสตันวิลลา 0-2 เสมอแบล็กเบิร์นโรเวอร์ส 0-0 และไล่ตีเสมอโรเซนบอร์ก 1-1 [2] และเปลี่ยนผู้จัดการทีมเป็น อัฟราม แกรนท์ (Afram Grant)
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 สิ้นสุดฤดูกาลแรกของ อัฟราม แกรนท์ ไม่สามารถคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้ หลังจากรับงาน อัฟราม แกรนท์ พาทีมเชลซีต่อสู้แย่งแชมป์กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จนถึงนัดสุดท้าย แต่ไม่สามารถทำได้โดยนัดสุดท้ายทำได้เพียงเสมอกับ โบลตัน (Bolton)1-1 โดยถูกตีเสมอในนาทีสุดท้ายของการแข่งขัน สิ้นสุดฤดูกาลเชลซีทำแต้มได้ 85 แต้ม โดยแชมป์(แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด)ทำได้ 87 แต้ม
21 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เข้าชิงแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกของสโมสร กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่กรุงมอสโค ประเทศรัสเซีย ในเวลา 120 นาทีเสมอกัน 1-1 ต้องเตะลูกจุดโทษตัดสิน เชลซีแพ้ไป 10-9 ประตู
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ผู้บริหารสโมสรมีมติปลดอัฟราม แกรนท์ ออกจากตำแหน่ง
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 สโมสรเชลซีแต่งตั้ง หลุย เฟลิปเป้ สโกลารี่ ขึ้นเป็นกุนซือเชลซีอย่างเป็นทางการ
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 สโกลารี่ทำผลงานได้ไม่ดี หลังจากนำทีมเสมอต่อ ฮัลล์ 1-1 ตามหลังแมนฯ ยูผู้นำอยู่ 7 แต้ม ผู้บริหารสโมสรได้มีมติปลดออกจากตำแหน่ง
12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 มติสโมสรแต่งตั้ง กุส ฮิดดิ้งค์ กุนซือชาวฮอลแลนด์ผู้จัดการทีมชาติรัสเซียเป็น ผู้จัดการทีมคนใหม่ โดยฮิดดิ้งค์จะทำหน้าที่ควบ 2 ตำแหน่ง ทั้งผู้จัดการทีมชาติรัสเซียและผู้จัดการเชลซี และกุส ฮิดดิ้งค์ นี้พาเชลชี คว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ สมัยที่ 5 โดยเอาชนะเอฟเวอร์ตันในนัดชิงชนะเลิศ
1 มิถุนายน พ.ศ. 2552 สโมสรเชลซีแต่งตั้ง คาร์โล อันเชล็อตติ ขึ้นเป็นกุนซือเชลซีอย่างเป็นทางการ
ปี พ.ศ. 2553 ได้แชมป์พรีเมียร์ชิพ นับเป็นแชมป์ลีกสูงสุดสมัยที่ 4
ปี พ.ศ. 2553 คว้า ดับเบิ้ลแชมป์ เป็นครั้งแรก ของสโมสร โดยคว้า แชมป์ พรีเมียร์ลีก และ FA-CUP
22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 คาร์โล อันเชล็อตติ ถูกปลดจากตำแหน่งหลังทำผลงานฤดูกาลที่ 2 ของเขากับเชลซีได้น่าผิดหวัง โดยเชลซีไม่สามารถคว้าแชมป์ได้เลย[3]
22 มิถุนายน พ.ศ. 2554 สโมสรประกาศแต่งตั้ง อังเดร วิลลาส-โบอาส โค้ชชาวโปรตุเกสเป็นผู้จัดการทีมคนใหม่[4]
4 มีนาคม พ.ศ. 2555 อังเดร วิลลาส-โบอาส ถูกปลดออกจากตำแหน่ง เนื่องจากผลงานไม่ดีตามการคาดหวัง และแต่งตั้งให้ โรแบร์โต ดิ มัตเตโอ เป็นผู้จัดการทีมชั่วคราวจนจบฤดูกาล[5]
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 โรแบร์โต ดิ มัตเตโอ ผู้จัดการทีมชั่วคราวของเชลซีได้นำทีมคว้าแชมป์ เอฟเอคัพ ได้เป็นสมัยที่ 7 ของสโมสร โดยชนะ สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ไป 2-1 จากลูกยิงของ รามีเรส และ ดร็อกบา[6]
19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เชลซีคว้าแชมป์ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ได้เป็นสมัยแรก โดยชนะ สโมสรฟุตบอลบาเยิร์นมิวนิก ในการดวลจุดโทษไป 4-3 โดยเสมอในเวลา 1-1 ซึ่งเป็นแชมป์ที่สองในฤดูกาล 2011-12 ของเชลซี[7]

สแตมฟอร์ดบริดจ์

สนามฟุตบอลสแตมฟอร์ดบริดจ์
สแตมฟอร์ดบริดจ์ (Stamford Bridge) เป็นสนามฟุตบอลแห่งเดียวของเชลซีตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมาตั้งอยู่ในเขตฟูแลม ในลอนดอน โดยเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2420 โดยในช่วง 28 ปีแรกที่เปิดใช้ ได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของสนามกรีฑาด้วย สนามสแตมฟอร์ดบริดจ์ออกแบบโดยสถาปนิกชาวสกอต บรรจุคนได้กว่า 42,000 คน

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ
No.
ตำแหน่ง ผู้เล่น
1 Flag of the Czech Republic GK ปีเตอร์ เช็ค (รองกัปตันทีมที่ 2)
2 ธงชาติของเซอร์เบีย DF บรานิสลาฟ อีวานอวิช
3 ธงชาติของอังกฤษ DF แอชลีย์ โคล
4 ธงชาติของบราซิล DF ดาวิด ลูอีซ
5 ธงชาติของกานา MF มิคาเอล เอสเซียง
6 ธงชาติของสเปน MF ออรีโอล โรเมว
7 ธงชาติของบราซิล MF รามีเรส
8 ธงชาติของอังกฤษ MF แฟรงก์ แลมพาร์ด (รองกัปตันทีม)
9 ธงชาติของสเปน FW เฟร์นันโด ตอร์เรส
10 ธงชาติของสเปน MF ควน มาตา
12 ธงชาติของไนจีเรีย MF จอห์น โอบี มิเกล
15 ธงชาติของฝรั่งเศส MF ฟลอร็อง มาลูดา
16 ธงชาติของโปรตุเกส MF ราอุล ไมเรลีช

No.
ตำแหน่ง ผู้เล่น
18 ธงชาติของเบลเยียม FW โรเมลู ลูคาคู
19 ธงชาติของโปรตุเกส DF เปาลู ฟีร์ไรรา
20 ธงชาติของอังกฤษ MF จอช แมคเอคราน
22 ธงชาติของอังกฤษ GK รอส เทิร์นบูล
23 ธงชาติของอังกฤษ FW เดเนียล สเตอร์ริดจ์
24 ธงชาติของอังกฤษ DF แกรี เคฮิลล์
26 ธงชาติของอังกฤษ DF จอห์น เทอร์รี (กัปตันทีม)
27 ธงชาติของอังกฤษ DF แซม ฮัตชินสัน
34 ธงชาติของอังกฤษ DF ไรอัน เบอร์ทรานด์
40 ธงชาติของโปรตุเกส GK เองรีกี อีราเรียว
ธงชาติของเยอรมนี MF มาร์โก มาริน [8]
ธงชาติของเบลเยียม MF เอเด็น อาซาร์
ธงชาติของบราซิล FW ฮัลค์

อดีตผู้เล่นที่โด่งดัง

(นับปีที่เข้ามาในสโมสร)
  • ทศวรรษที่ 1990
Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ
No.
ตำแหน่ง ผู้เล่น
2 ธงชาติของโรมาเนีย
แดน เปเตรสคู
3 ธงชาติของอังกฤษ
แกรม เลอโซ
5 ธงชาติของฝรั่งเศส
ฟร้องซ์ เลอเบิฟ
11 ธงชาติของอังกฤษ
เดนนิส ไวส์ (อดีตกัปตันทีม)
9 ธงชาติของอิตาลี
จิอันลูกา วิอัลลี่
25 ธงชาติของอิตาลี
จิอันฟรังโก้ โซล่า
19 ธงชาติของนอร์เวย์
ทอเร อังเดร โฟล
6 ธงชาติของฝรั่งเศส
มาแซล เดอไซญี่ (อดีตกัปตันทีม)
22 ธงชาติของไอซ์แลนด์
ไอเดอร์ กุ๊ดยอห์นเซน
36 ธงชาติของเดนมาร์ก
เจสเปอร์ กรุนชา
9 Flag of the Netherlands
จิมมี่ ฟลอยด์ ฮัสเซลเบงค์
16 ธงชาติของอิตาลี
โรแบร์โต้ ดิ มัทเทโอ
23 ธงชาติของอิตาลี
คาร์โล คูดิชินี่

  • ทศวรรษที่ 2000
Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ
No.
ตำแหน่ง ผู้เล่น
11 Flag of Ireland
เดเมียน ดัฟฟ์
13 ธงชาติของฝรั่งเศส
วิลเลียม กัลลาส
16 Flag of the Netherlands
อาเยน ร็อบเบน
14 ธงชาติของแคเมอรูน
เฌเรมี่ เอ็นจิตาป
18 ธงชาติของอังกฤษ
เวย์น บริดจ์
4 ธงชาติของฝรั่งเศส
โคล้ด มาเกเลเล่
24 ธงชาติของอังกฤษ
ฌอน ไรท์ ฟิลิปส์
10 ธงชาติของอังกฤษ
โจ โคล
13 ธงชาติของเยอรมนี
มิชาเอล บัลลัค
35 ธงชาติของบราซิล
ฮูเลียโน เบลเล็ตติ
20 ธงชาติของโปรตุเกส
เดโก้
6 ธงชาติของโปรตุเกส
ริคาร์โด้ คาร์วัลโญ่

ผู้เล่นที่โด่งดัง

2001 - ปัจจุบัน
ชื่อ สัญชาติ ตำแหน่ง เล่นให้เชลซี จำนวนครั้ง (ตัวสำรอง) รวม ประตู
จิอันฟรังโก้ โซล่า ธงชาติของอิตาลี FW 1996-2003 229 (44) 273 59
จิมมี่ ฟรอยด์ ฮัสเซลเบงค์ Flag of the Netherlands FW 2000-2004 136 (17) 153 69
เจสเปอร์ กรุนชา ธงชาติของเดนมาร์ก MF 2000-2004 104 (32) 136 7
ไอเดอร์ กุ๊ดจอห์นเซน ธงชาติของไอซ์แลนด์ FW 2000-2006 186 (60) 246 54
ทอเร อังเดร โฟล ธงชาติของนอร์เวย์ FW 1997-2001 112 (53) 165 34
มาแซล เดอไซญี่ ธงชาติของฝรั่งเศส DF 1998-2004 158 (2) 160 6
คาร์โล คูดิชินี่ ธงชาติของอิตาลี GK 1999-2009 142 (4) 146 0
วิลเลียม กัลลาส ธงชาติของฝรั่งเศส DF 2001-2006 159 (12) 171 12
เดเมี่ยน ดัฟฟ์ Flag of Ireland MF 2003-2006 81 (18) 99 14
เฌเรมี่ ธงชาติของแคเมอรูน MF 2003-2007 72 (24) 96 4
โคล้ด มาเกเลเล่ ธงชาติของฝรั่งเศส MF 2003-2008 144 (12) 156 2
เวย์น บริดจ์ ธงชาติของอังกฤษ DF 2003-2009 87(13) 100 1
อาเยน ร็อบเบน Flag of the Netherlands MF 2004-2007 67 (16) 83 15
จอห์น ไรท์ ฟิลิปส์ ธงชาติของอังกฤษ MF 2005-2009 82 (39) 121 4
โจ โคล ธงชาติของอังกฤษ MF 2003-2010 188 (92) 280 39
มิชาเอล บัลลัค ธงชาติของเยอรมนี MF 2006-2010 139 (29) 168 26
เบลเล็ตติ ธงชาติของบราซิล DF 2007-2010 54 (25) 79 5
เดโก้ ธงชาติของโปรตุเกส MF 2008-2010 42 (15) 57 6
ริคาร์โด้ คาร์วัลโญ่ ธงชาติของโปรตุเกส DF 2004-2010 233 (7) 240 10
แซม ฮันซิมสัน ธงชาติของอังกฤษ DF 2006-2010 1 (3) 4 0

ผู้เล่นที่ยิงครบ 100 ประตู

พรีเมียร์ลีก-ถ้วยอื่น ๆ
ชื่อ สัญชาติ ตำแหน่ง เล่นให้เชลซี จำนวนครั้ง (ตัวสำรอง) รวม ประตู
แฟรงค์ แลมพาร์ด ธงชาติของอังกฤษ MF 2001-ปัจจุบัน 449 (24) 473 156
ดิดิเยร์ ดร็อกบา ธงชาติของโกตดิวัวร์ FW 2004-ปัจจุบัน 209 (48) 257 129

นักเตะยอดเยี่ยมประจำปี 1967-2010

Year Winner
1967 ธงชาติของอังกฤษ ปีเตอร์ โบเน็ตติ
1968 ธงชาติของสกอตแลนด์ ชาร์ลี คุก
1969 ธงชาติของอังกฤษ เดวิด เว็บ
1970 ธงชาติของอังกฤษ จอห์น ฮอลลินส
1971 ธงชาติของอังกฤษ จอห์น ฮอลลินส
1972 ธงชาติของอังกฤษ เดวิด เว็บ
1973 ธงชาติของอังกฤษ ปีเตอร์ ออสกู๊ด
1974 ธงชาติของอังกฤษ แกรี่ ล็อก
1975 ธงชาติของสกอตแลนด์ ชาร์ลี คุก
1976 ธงชาติของอังกฤษ เรย์ วิลกินส์
1977 ธงชาติของอังกฤษ เรย์ วิลกินส์
1978 ธงชาติของอังกฤษ มิกกี้ ดรอย
 
Year Winner
1979 ธงชาติของอังกฤษ ทอมมี่ แลงลี่ย์
1980 ธงชาติของอังกฤษ ไคล์ วอล์กเกอร์
1981 ธงชาติของยูโกสลาเวีย ปีเตอร์ โบโรต้า
1982 ธงชาติของอังกฤษ ไมค์ ฟิลเลรี่
1983 ธงชาติของเวลส์ โจอี้ โจนส์
1984 ธงชาติของสกอตแลนด์ แพท เนวิน
1985 ธงชาติของสกอตแลนด์ เดวิด สปีดี้
1986 ธงชาติของเวลส์ เอ็ดดี้ นีดสวิกกี้
1987 ธงชาติของสกอตแลนด์ แพท เนวิน
1988 ธงชาติของอังกฤษ โทนี่ โดริโก้
1989 ธงชาติของอังกฤษ เกรแฮม โรเบิร์ต
1990 Flag of the Netherlands เคน มองกู
1991 Flag of Ireland แอนดี้ ทาวเซ่น
1992 ธงชาติของอังกฤษ พอล เอลเลียต
1993 ธงชาติของจาเมกา แฟรงค์ ซินแคลร์
1994 ธงชาติของสกอตแลนด์ สตีฟ คลาร์ก
 
ปี นักเตะยอดเยี่ยม
1995 ธงชาติของนอร์เวย์ เออร์แลนด์ จอห์นเซ่น
1996 Flag of the Netherlands รุด กุลลิต
1997 ธงชาติของเวลส์ มาร์ก ฮิวจส์
1998 ธงชาติของอังกฤษ เดนนิส ไวซ์
1999 ธงชาติของอิตาลี จิอันฟรังโก้ โซล่า
2000 ธงชาติของอังกฤษ เดนนิส ไวซ์
2001 ธงชาติของอังกฤษ จอห์น เทอร์รี่
2002 ธงชาติของอิตาลี จิอันฟรังโก้ โซล่า
2004 ธงชาติของอังกฤษ แฟรงค์ แลมพาร์ด
2005 ธงชาติของอังกฤษ แฟรงค์ แลมพาร์ด
2006 ธงชาติของอังกฤษ จอห์น เทอร์รี่
2007 ธงชาติของกานา มิคาเอล เอสเซียง
2008 ธงชาติของอังกฤษ โจ โคล
2009 ธงชาติของอังกฤษ แฟรงค์ แลมพาร์ด
2010 ธงชาติของโกตดิวัวร์ ดิดิเยร์ ดร็อกบา
2011 Flag of the Czech Republic ปีเตอร์ เช็ค
2012 ธงชาติของสเปน ควน มาตา

ทำเนียบผู้จัดการทีม

ปี
1933-1939 เลสลี่ ไนท์ตัน
1939-1952 บิลลี่ แบร์เรลล์
1952-1961 เท็ด เดร็ค
1962-1967 ทอมมี่ ด็อคเคอร์ตี้
1967-1974 เดฟ เซ็กตัน
1974-1975 รอน ซอวร์ต
1975-1977 เอ็ดดี้ แม็คเครดี้
1977-1978 เคน เชลลิโต้
1978-1979 แดนนี่ บลังค์ฟลาวเวอร์ส
1979-1981 เจฟฟ์ เฮิร์สต์
1981-1985 จอห์น นีล
1985-1988 จอห์น ฮอลลินส์
1988-1991 บ็อบบี้ แคมป์เบลล์
1991-1993 เอียน พอร์เตอร์ฟิลด์
1993 เดวิด เวบบ์
1993-1996 เกล็น ฮอดเดิ้ล
1996-1998 รุด กุลลิท
1998-2000 จิอันลูก้า วิอัลลี่
2000-2004 เคลาดิโอ รานิเอรี่
2004-2007 โชเซ่ มูรินโญ่
2007-2008 อัฟราม แกรนท์
2008-2009 หลุยส์ ฟิลิปเป สโคลารี
2009 กุส ฮิดดิงค์
2009-2011 คาร์โล อันเชลอตติ
2011-2012 อังเดร วิลลาส-โบอาส
2012-ปัจจุบัน โรแบร์โต ดิ มัตเตโอ (ชั่วคราว)[9]

สัญลักษณ์ทีม

ผลงาน

สถิติ

  • สถิติผู้ชมสูงสุด : ในสแตมฟอร์ด บริดจ์ นัดพบกับอาร์เซน่อล ในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1958 มีผู้ชมเข้ามาชมถึง 182,905 คน
  • สถิติผู้ชมน้อยที่สุด : ในสแตมฟอร์ด บริดจ์ นัดที่พบกับ ลินคอล์น ซิตี้ ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1906 มีผู้ชมเพียง 110 คน
  • สถิติชนะสูงสุด : ในนัดพบกับ จิวเนส ฮัทคาเรจ ซึ่งถูกพวกเขาถลุงไปถึง 13-0 ในวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1971
  • สถิติชนะสูงสุด : ในนัดพบกับ วีแกน แอดแลนติก ซึ่งถูกพวกเขาถลุงไปถึง 8-0 ในวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ 2010
  • สถิติแพ้สูงสุด : ในนัดพบกับ วูล์ฟแฮมตัน วันเดอร์เรอร์ส ที่อัดพวกเขาไป 8-1 ในวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1953
  • ผู้เล่นในลีกสูงสุด : รอนแฮร์ริส, 655 นัด, 1962-80
  • สถิติซื้อนักเตะค่าตัวแพงที่สุด : 50 ล้านปอนด์, เฟร์นานโด ตอร์เรส จาก ลิเวอร์พูล, กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011
  • สถิติขายนักเตะแพงที่สุด : 23 ล้านปอนด์, อาร์เยน ร็อบเบน ไป เรอัลมาดริด, สิงหาคม ค.ศ. 2007
  • นักเตะที่ทำประตูรวมสูงสุดใน 1 ฤดูกาล :ดิดิเย่ร์ ดร็อกบา , 37 ประตู , 2009-2010
  • นักเตะที่ทำประตูรวมสูงสุดในช่วงที่อยู่กับเชลซี : แฟรงค์ แลมพาร์ด, 156 ประตู, 2010
  • ยิงประตูรวมมากที่สุดในพรีเมียร์ลีก : 103 ประตู, 2010

แหล่งข้อมูลอื่น

เว็บไซต์แฟนคลับในเมืองไทย

อ้างอิง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น